สมาคมสร้างคุณค่า (ญี่ปุ่น: ????, S?ka Gakkai โซกะ กักไก) เป็นองค์การศาสนาพุทธดำเนินการโดยฆราวาส ที่สึเนะซะบุโร มะกิงุชิ ก่อตั้งขึ้นโดยแยกตัวออกมาจากนิกายนิชิเร็งโชชู
ในปัจจุบันสมาคมโซคา งัคไก นั้นไม่ได้ขึ้นตรงต่อวัดไทเซะคิและสังฆปริณายกนิชิเร็งโชชู กระทั่งปัจจุบันไม่ได้มีความเกี่ยวข้องอันใดกัน โดยสมาคมโซคาศรัทธาในคำสอนของพระนิชิเร็งที่กล่าวว่า "คฤหัสถ์ก็สามารถเข้าถึงการรู้แจ้งและเปิดสภาพชีวิตพุทธะในตนเองได้"
โซกา งัคไก ก่อตั้งโดย อาจารย์สึเนะซะบุโร มะกิงุชิ ซึ่งเป็นนักวิชาการการศึกษา ซึ่งอาจารย์สึเนะซะบุโร มะกิงุชิ ได้ก่อตั้ง "สมาคมการศึกษาสร้างคุณค่า" ขึ้นมาเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 1930 ท่านเป็นผู้เขียน "ทฤษฎีการสร้างคุณค่า" และได้ทุ่มเทให้กับการแผยแผ่ธรรมจนถูกรัฐบาลทหารในสมัยนั้นกลั่นแกล้งจับกุม เนื่องจากไม่ยอมให้สมาคมฯขึ้นตรงอยู่ภายใต้นิกายชินโตซึ่งถูกครอบงำทางการทหาร(กองทัพญี่ปุ่นเริ่มบุกจีน ค.ศ.1937 สงครามโลกยุติ ค.ศ.1945) อ.มาคิงูจิถูกคุมขังในคุกเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม ค.ศ. 1943 และถึงแก่มรณกรรมในวันที่ 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 1944 ในเรือนจำ ส่วนอ.โทดะประธานสมาคมคนที่ 2 ซึ่งถูกจับกุมเข้าคุกก่อนหน้า 3 วันได้รับอิสรภาพภายหลังสงครามยุติ
วันที่ระลึกการก่อตั้งสมาคมโซคา ตรงกับวันที่ 18 พฤศจิกายนของทุกปีตามมติของสมาคมโซคา งัคไก เนื่องจากเป็นวันที่อาจารย์สึเนะซะบุโร มะกิงุชิ นายกสมาคมโซคา งัคไกคนแรก ได้ตีพิมพ์หนังสือที่ชื่อว่า ระบบการศึกษาสร้างคุณค่า เล่มที่1 ในวันนั้น และหน้าท้ายของหนังสือนี้มีระบุสถานที่จัดพิมพ์ว่า สมาคมการศึกษาสร้างคุณค่า นี่เป็นครั้งแรกที่ชื่อของสมาคมการศึกษาสร้างคุณค่า อันเป็นชื่อสมัยเริ่มแรกของสมาคมโซคา งัคไก ได้ปรากฏขึ้นมาอย่างเป็นทางการในสังคม ด้วยเหตุนี้ 18 พฤศจิกายน ซึ่งเป็นวันที่ที่หนังสือดังกล่าวถูกตีพิมพ์ออกมา จึงถูกกำหนดให้เป็นวันที่ระลึกการก่อตั้งสมาคมโซคา
คำว่า โซคา มีความหมายว่า สร้างคุณค่า ซึ่งได้จากแนวความคิดของอาจารย์มาคิงุจิที่ว่า เป้าหมายของการศึกษาและเป้าหมายของชีวิตมนุษย์ก็คือ การแสวงหาความสุขในแนวคิดมนุษยนิยม โดยเนื้อแท้แล้ว สิ่งนี้ก็คือการสร้างคุณค่านั้นเอง คำว่าโซคา(สร้างคุณค่า) ก็เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาจากการพูดคุยสนทนากัน ระหว่างอาจารย์มาคิงุจิกับอาจารย์โทดะในการประยุกต์คำสอนของพระนิชิเร็นไดโชนินในเรื่อง "การวางรากฐานให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการรู้แจ้งและเปิดสภาพชีวิตพุทธะในตนเอง" มาจัดวางระบบการให้ปฏิบัติเป็นรูปธรรมได้ในการดำเนินชีวิตในสังคมของมนุษยชาติในโลกยุคปัจจุบัน
เวลาต่อมา อาจารย์ โจเซอิ โทดะ ได้เป็นผู้สืบทอดเจตนารมณ์ของอาจาร์ยมาคิงุจิ ท่านได้ถูกจับเข้าคุกด้วยข้อหาและวันเดียวกันกับอาจาร์ยของท่าน ซึ่งได้ถูกคุมขังอยู่ถึง 2 ปี เมือพ้นโทษก็ออกมาฟื้นฟูสมาคมแต่เพียงลำพัง จนเป็นที่มาของ "การยืนหยัดแต่เพียงผู้เดียว" และเปลี่ยนชื่อสมาคมเป็น "สมาคมสร้างคุณค่า" ท่านได้เป็นนายกสมาคมคนที่ 2 เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม ค.ศ. 1951 ท่านได้ประกาศ "แถลงการณ์ห้ามใช้อาวุธนิวเคลียร์" ในวันที่ 8 กันยายน ค.ศ. 1957 ท่านได้มอบพินัยกรรมการเผยแผ่ธรรมให้กับ ไดซาขุ อิเคดะ และถึงแก่มรณกรรมอย่างสงบในวันที่ 2 เมษายน ค.ศ. 1958 ในเวลาต่อมา อาจารย์อิเคดะ ได้ลาออกจากตำแหน่ง ประธานสมาคมโซคามอบตำแหน่งให้กับ ฮิโรชิ โฮโจ โดยก่อนหน้านี้สมาคมโซคาถูกคว่ำบาตรและฟ้องร้องต่อศาลจากคณะสงฆ์ กรณีหนังสือพิมพ์สมาคมโซคาเปิดเผยเรื่องอื้อฉาวของสงฆ์นิกเค่นประมุขสงฆ์นิกายนิชิเรนโชชูที่เมืองซีแอตเติ้ลซึ่งคณะสงฆ์ถูกพิพากษาให้แพ้คดีในที่สุด อย่างไรก็ตามอาจาร์ยอิเคดะก็ยังคงดำรงตำแหน่งประธานสมาคม SGI (สมาคมโซคา งัคไก สากล) และดำรงตำแหน่งเป็นประธานสมาคมกิตติมศักดิ์ ของสมาคมโซกางัคไกเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
การศึกษาเพื่อ ความสุขของเด็ก เครือข่ายการศึกษาสร้างคุณค่าได้แผ่ขยายไปทั่วโลก อ.ไดซาขุ อิเคดะได้กล่าวไว้ว่า การศึกษานั้น เป็นงานที่ยิ่งใหญ่ที่สำคัญอย่างยิ่งที่จะสร้างผู้นำในอนาคต การศึกษานั้นเป็นงานสุดท้ายของข้าพเจ้า อ.อิเดคะได้นำคำประกาศของอาจารย์มาคิงุจิ ที่กล่าวไว้ว่า ความสุขของเด็ก เป็นสิ่งสำคัญอันดับหนึ่ง ซึ่งเป็นเจตนารมณ์ขั้นรากฐานของการศึกษาสร้างคุณค่า ทำเป็นรูปธรรมขึ้นมา โดยก่อตั้งโรงเรียนอนุบาลโซคาขึ้นมาในปีพ.ศ. 2511(ที่เมืองโคไดระ ปัจจุบันมีโรงเรียนประถม มัธยมต้นและมัธยมปลาย ที่คันไซและโตเกียว)ได้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยโซคา ในปีพ.ศ. 2514(ที่เมืองฮาชิโอจิ โตเกียว) ได้เปิดวิทยาลัยสตรีโซคาในปี พ.ศ. 2528 และเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2544 ได้เปิดมหาวิทยาลัยโซคา อเมริกาที่ออเร้นจ์เคาน์ตี้ รัฐแคลิฟอร์เนีย นอกจากนี้ยังได้เปิดโรงเรียนอนุบาลที่จังหวัดซัปโปโร ฮ่องกง สิงค์โปร์ มาเลเซีย และบราซิล เป็นการขยายเครือข่ายการศึกษาสร้างคุณค่าออกไปทั่วโลก เปิดเส้นทางใหญ่แห่งศตวรรษแห่งการศึกษา
สมาคมได้ดำเนินการเคลื่อนไหวเพื่อสร้างสันติภาพอย่างต่อเนื่องโดยมีคณะยุวชนเป็นผู้ปฏิบัติหลัก ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2516 คณะยุวชนได้จัดตั้ง สมัชชายุวชนปกป้องสิทธิในการดำรงชีวิต ซึ่งภายหลังได้พัฒนาเป็น สมัชชายุวชนโซคาเพื่อสันติภาพ เริ่มต้นทำการเคลื่อนไหวโดยรับเงินบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ลี้ภัยชาวเวียดนาม นอกจากนี้ในช่วงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 จนถึงฤดูร้อนในปีถัดไป ได้ทำการเคลื่อนไหว เก้บลายชื่อ10ล้านรายชื่อเพื่อต่อต้านอาวุธนิวเคลียร์ และในเดือนมกราคม พ.ศ. 2518 อาจารย์อิเคดะก็ได้ยื่นรายชื่อเหล่านี้ต่อสำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติด้วยมือของท่านเอง ยิ่งกว่านั้น ยังได้ดำเนินกิจกรรมในการจัดพิมพ์หนังสือต่อต้านสงครามของผู้ที่มีประสบการณ์สงคราม ให้แก่คนรุ่นหลังมาตลอดมากกว่า100เล่ม เช่น คณะยุวชนได้จัดทำเรื่อง มอบแด่คนในสมัยที่ไม่รู้จักสงคราม ออกมาเป็นตอนๆต่อเนื่องกันจำนวน80ตอน(เล่ม)คณะผู้ใหญ่หญิงก็ได้ทำหนังสือเรื่อง ข้อเรียกร้องเพื่อสันติภาพ ออกมาเป็นตอนๆเช่นกันจำนวน20ตอน(เล่ม) ทางสมาคม นอกจากจะช่วยเหลือและสนับสนุนองค์การสหประชาชาติอย่างกระตือรือร้นเพื่อแก้ไขปัญหาระดับโลก ในฐานะเป็นเอ็นจีโอ(องค์กรที่ไม่ใช้องค์กรของรัฐบาลหรือองค์กรเอกชน)ของข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ และเอ็นจีโอของศูนย์ประชาสัมพันธ์แห่งสหประชาชาติ แล้วทางสมาคม ยังได้ดำเนินการในฐานะเอ็นจีโอของคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติอีกด้วย การเคลื่อนไหวดังกล่าว ได้ดำเนินกิจการไปในแง่มุมต่างๆเช่น ช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม การลดอาวุธนิวเคลียร์ การศึกษาด้านสิทธิมนุษยชน การปกป้องคุ้มครองสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ตัวแทนเอสจีไอได้เข้าร่วมประชุมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกัน ในระหว่างผู้เกี่ยวข้องแต่ละประเทศ เช่น การประชุมสิทธิมนุษยชนโลก การประชุมเพื่อลดอาวุธของสหประชาชาติเกียวโต การประชุมเพื่อลดอาวุธของสหประชาชาติฮิโรชิมา เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีการเคลื่อนไหวเพื่อเสริมความเข้าใจโดยผ่านการจัดนิทรรศการ งานนิทรรศการการต่อต้านอาวุธนิวเคลียร์ ซึ่งได้จัดขึ้นมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2525 โดยเปิดการแสดงใน 24 ประเทศ 39 เมือง มีผู้เข้าชม1,700,000คน [ที่ประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) ได้จัดนิทรรศการ "อาวุธนิวเคลียร์-ภัยคุกคามโลก" ที่ศาลาพระเกี้ยว จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยสมาคมสร้างคุณค่าในประเทศไทย ร่วมกับองค์กรเอสจีไอ องค์การสหประชาชาติ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]และได้จัดงานนิทรรศการ สิทธิมนุษยชนโลกในปัจจุบัน เพื่อเป็นการสนับสนุน 10 ปีแห่งการศึกษาด้านสิทธิมนุษยชน ขององค์การสหประชาชาติ ตามสภานที่ต่างๆรวม 8 ประเทศ 40 เมืองหมุนเวียนกันไปเช่น ที่สำนักงานใหญ่ของอค์การสหประชาชาติยุโรป เมืองเจนีวา กรุงโรม และเมืองมอนเตวิเดโอ เป็นต้น
สำหรับปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อม จัดงานนิทรรศการในหัวข้อเรื่อง สิ่งแวดล้อมกับการพัฒนา ขึ้นในนานาประเทศหมุนเวียนกันไป ในช่วงเวลา 5 ปีที่ผ่านมานี้ คณะยุวชนได้รณรงค์เพื่อมอบเครื่องวิทยุให้แก่ประเทศกัมพูชา มีการเคลื่อนไหวเพื่อยกระดับอัตราการรู้หนังสือเพิ่มขึ้นในประเทศที่ยากจน และได้มีการรณรงค์นานาชาติเพื่อเรียกร้องให้ขจัดอาวุธนิวเคลียร์ โดยเฉาะอย่างยิ่ง การรณรงค์เพื่อยกเลิกภายในปี 2000 และในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2541 ก้สามารถเก็บรายชื่อได้ถึง1,300,000 ชื่อ ยื่นเสนอต่อสำนักงานใหญ่ขององค์การสหประชาชาติ เพื่อเรียกร้องให้ขจัดอาวุธนิวเคลียร์
ในปี ค.ศ. 1991 พระนิคเคน โชนิน ประมุขสงฆ์แห่งพุทธศาสนานิชิเร็นโชชู ได้ประกาศการคว่ำบาตรต่อ ประธานสมาคมโซกา งัคไก ซึ่งเป็นสมาคมผู้นับถือที่ใหญ่ที่สุด โดยได้ให้เหตุผลว่า การปฏิบัติ คำสอน ของผู้นับถือจากสมาคมนี้นั้นถูกเบี่ยนเบนไปโดยผู้นำ หรือประธานสมาคม และพระสงฆ์กลุ่มหนึ่งได้ฟ้องร้องประธานสมาคมกรณีสิ่งพิมพ์สมาคมโซคาเปิดเผยพฤติกรรมเสื่อมเสียของประมุขสงฆ์ ประมุขสงฆ์งดการมอบโงะฮนซนซึ่งเป็น สิ่งสักการบูชาของผู้นับถือนิชิเร็นโชชูให้กับสมาชิกสมาคม ซึ่งโดยปกติแล้วโงะฮนซนถูกคัดลอกจากวัดใหญ่ไทเซขิจิโดยมีการทำพิธีโดยพระประมุขสงฆ์ที่วัดใหญ่ เมื่อสมาคมนำแบบพิมพ์เก่าของพระนิชิคันโชนินสังฆราชลำดับ 26 ผู้มีชื่อเสียงเป็นที่เคารพผู้ทำการรวบรวมฟื้นฟูพุทธธรรมของพระนิชิเร็นไดโชนินมาคัดลอกให้สมาชิกจึงถูกกล่าวหาว่าเป็นโงะฮนซนปลอม และในที่สุดในปี ค.ศ. 1997 ผู้นับถือทั้งหมดที่ตัดสินใจยังคงเข้ากับสมาคมโซกางัคไคทั้งหมดทั่วโลก ก็ได้ถูกคว่ำบาตรออกจากการเป็นผู้นับถือพุทธศาสนานิชิเร็นโชชูด้วยเช่นกัน สมาชิกสมาคมโซกางัคไคต้องงดการเดินทางไปยังวัดไทเซขิจิ เพื่อนมัสการไดโงะฮนซน ซึ่งเป็นสิ่งสักการบูชาสูงสุด โดยชักชวนให้ถอนตัวจากสมาคมโซคางัคไค และกลับมาเข้ากับนิกายนิชิเรนโชชู ดังเดิม ซึ่งจะต้องผ่านพิธีสำนึกผิดโดยพระสงฆ์
อาเบะ นิคเค่น หรือ พระนิคเค่น โชนิน วางแผนแผ่อิทธิพลที่จะเข้าควบคุมสมาคม ให้สมาชิกทำตามใจสิ่งที่ตนต้องการเสมือนทาส และในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2533 ก็ได้ตัดสินใจแต่ฝ่ายเดียวทำการปลดดร.ไดซาขุ อิเคดะออกจากตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายฆราวาส และในเดือนพฤศจิกายนปีถัดมา ได้ยื่น หนังสือคำสั่งยุบสมาคม และ หนังสือคำสั่งตัดสมาคมออกจากนิกายนิชิเรนโชชู แต่สำหรับสมาคม ซึ่งมุ่งมั่นในการเผยแผ่ธรรมไพศาลตามพุทธเจตนาบัญชานั้น สามารถทำลายแผนการที่ชั่วร้ายของคณะสงฆ์และผู้ทรยศหักหลังได้ ภายใต้การชี้นำของอาจารย์อิเคดะ ยิ่งกว่านั้น ยังสามารถทำให้สมาคมโซคามีการพัฒนาอย่างยิ่งใหญ่ ไปสู่องค์กรแห่งสันติภาพและองค์กรเพื่อมวลชนระดับโลกได้
โชชินไค เป็นกลุ่มของผู้นับถือศาสนาพุทธที่ก่อตั้งโดยพระสงฆ์นิชิเรนโชชู 200 รูป และผู้นับถือจำนวนหนึ่ง โดยได้แสดงความต่อต้านสมาคมโซกางัคไคอย่างรุนแรง โดยกล่าวว่า โซกางัคไค นำโดย ไดซาขุ อิเคดะนั้นได้เบี่ยนเบนคำสอนของนิชิเรนโชชูอย่างมาก และได้มีพิธีกรรมที่เบี่ยงเบนเกินจะให้อภัย ซึ่งสมเด็จพระสังฆราชพระนิทตัตสุ โชนิน ได้อภัยโทษให้กับอาจาร์ยอิเคดะในสมัยนั้น ส่งผลให้พระสงฆ์และผู้นับถือกลุ่มนี้ไม่พอใจอย่างมาก และไม่สามารถทำงานร่วมกับโซกางัคไคได้อีกต่อไป จึงได้แยกตัวออกมาตั้งกลุ่มโชชินไค ซึ่งจะคอยต่อต้านการกระทำของโซกางัคไค
คณะสงฆ์กลุ่มหนึ่งได้ยื่นฟ้องสมาคมสร้างคุณค่าในข้อกล่าวหาหนังสือพิมพ์โซคาหมิ่นประมาทอาเบะ นิกเค่น ประมุขสงฆ์กรณีประพฤติเสื่อมเสียที่เมืองซีแอตเติ้ล กระทั่ง วันที่ 21 มีนาคม ค.ศ. 2000 ศาลแขวงกรุงโตเกียว ได้พิพากษาคดีเกี่ยวกับอาเบะ นิกเค่น ประมุขสงฆ์ กรณีประพฤติเสื่อมเสียดังกล่าวว่า "เป็นเรื่องจริง" ทำให้คำฟ้องตกไป และพิพากษาให้คณะสงฆ์ผู้ฟ้องร้องต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการฟ้องร้องทั้งหมด ต่อมาในปี 2005 นิกเค่น อาเบะ พ้นจากตำแหน่งประมุขสงฆ์
คำสอนและการปฏิบัติของผู้นับถือของโซกา งัคไคนั้นจะมีความคล้ายคลึงกับ พระพุทธศาสนานิชิเรนโชชู เพราะปฏิบัติศรัทธายึดหลักคำสอนในธรรมนิพนธ์ของพระนิชิเร็นไดโชนิน
การปฏิบัติขั้นพื้นฐานของโซกา งัคไค นั้นจะเน้นที่ ศรัทธา ปฏิบัติ และ ศึกษา ศรัทธาก็คือการท่องบทธรรมสารถัต(ไดโมขุ) "นัม-เมียว-โฮ-เร็ง-เง-เคียว" ซึ่งเป็นคำแปลจากภาษาสันสกฤตว่า "นโมสัทธรรมปุณฑริกสูตร" และสวดมนต์วาระเช้าเย็น (งนเกียว) โดยระยะเวลาการของปฏิบัตินี้ จะขึ้นอยู่กับผู้นับถือแต่ละบุคคล ซึ่งจะแตกต่างกันออกไปตามความสะดวก และตารางเวลาของแต่ละบุคคล สมาชิกผู้นับถือใหม่อาจสวดเพียง 5-10 นาที เท่านั้น ในขณะที่ผู้นับถือมานานอาจสวดไดโมขุ ("นัม-เมียว-โฮ-เร็ง-เง-เคียว"ต่อเนื่องไปจนปิติพอดี) ได้ถึงวันละ 3 - 4 ชั่วโมงหรือมากกว่า เป็นการปฏิบัติเพื่อขัดเกลาตนเอง และยังรวมถึงการไปรวมกลุ่มสนทนาธรรมและเผยแพร่ธรรมให้ผู้อื่นเป็นการปฏิบัติเพื่อผู้อื่นหรือดำเนินโพธิสัตว์มรรค ศึกษาก็คือการศึกษาธรรมะจากสื่อสิ่งพิมพ์และวารสารต่างๆฝ่ายการศึกษาของสมาคมโดยอ้างอิงจากบทธรรมนิพนธ์ของพระนิชิเรนไดโชนิน (โกโช่)ของ อ.มาขิงูจิ, อ.โทดะ และอ. อิเคดะ ผู้นำสมาคม
การสวดมนต์ของ นิชิเรนโชชู และ โซคางัคไก นั้นจะมีข้อแตกต่างกันบางประการ อาทิเช่น นิชิเรนโชชู นั้นจะมี บทสวดมนต์ทั้งหมด 5 บท (5 วาระ) แต่สำหรับ โซคางัคไก บทแรกอธิษฐานในใจแทนจึงมีบทสวดออกเสียงเพียง 4 บท และไม่มีการอธิษฐานเพื่อพระประมุขสงฆ์องค์ปัจจุบันโดย ทางโซคางัคไกได้เปลี่ยนแปลงเป็นการอธิษฐานในวาระที่ 2 เพื่อขอบคุณต่อ ไดโงะฮนซน, พระนิชิเรนไดโชนิน, พระนิกโคโชนิน, พระนิชิโมขุโชนิน ส่วนวาระที่ 3 อธิษฐานเพื่อการเผยแผ่ธรรมไพศาลทั่วโลกและประธานสมาคมโซคาทั้ง 3 ท่านผู้อุทิศชีวิตเผยแผ่ธรรม, วาระที่ 4 อธิษฐานเพื่อตนเองและอุทิศให้บรรพบุรุษ และวาระที่ 5 อธิษฐานเพื่อสันติภาพและความสุขของมวลมนุษยชาติทั่วโลก
การปฏิบัติบูชาต่อโงะฮนซน ทางสมาคมถือตามธรรมนิพนธ์ที่ชี้ว่า โงะฮนซนอยู่ภายในชีวิตของผู้ปฏิบัติ.. คือการปรับปรุงแก้ไขปฏิวัติการดำเนินชีวิตตนเองเป็นตัวอย่างที่ดีกับเพื่อนสมาชิกและผู้คนในสังคมเป็นการปฏิบัติบูชา
วันที่3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 สมาคมโซคา ได้จัดงานฉลองครบรอบ80ปี ซึ่งจะถึงวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 โดยได้จัดงานที่กรุงโตเกียว โดยมีสมาชิกกว่า 5000 คนใน 65ประเทศเขตแคว้นเข้าร่วม ภายในงานมีการจัดแสดงดนตรี การบรรเลงเพลงจากวงออเคสตร้า และการขับร้องประสานเสียง สลับกับการกล่าวสุนทรพจน์ของมิโนรุ ฮาราดะนายกสมาคมโซคา งัคไก ท่านที่หก และการนำเสนอมุมมองของตัวแทนยุวชน เกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงานของสมาคมโซคา ในปีต่อๆ ไป ดร.ไดซาขุ อิเคดะ ประธานสมาคมโซคา งัคไก สากล ได้ส่งข้อความเพื่อกระตุ้นให้สมาชิกยุวชนอุทิศตนเพื่อส่งเสริมสันติภาพให้บังเกิดขึ้นแก่โลกสืบต่อไป โดยกล่าวว่า “ความสมัครสมานสามัคคีและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันที่ทุกคนแสดงออกมา คือ ภาพสะท้อนสันติภาพแห่งอนาคตที่มนุษยชาติใฝ่ฝันมายาวนาน”
แนวคิดระฆัง 7 ใบ เป็นแนวปฏิบัติเพื่อการพัฒนาสมาคม ริเริ่มทำโดย ไดซาขุ อิเคดะ หัวหน้าคณะยุวชนสมัยนั้น และต่อมาได้ดำรงตำแหน่งเป็น นายกสมาคมโซคา งัคไก ท่านที่3
สมัยที่ โจเซอิ โทดะ นายกสมาคมโซคา งัคไก ท่านที่2 ยังมีชีวิตอยู่ ท่านได้กล่าวไว้ว่า สมาคมได้ตีระฆังแห่งการเผยแผ่ธรรมมาทุกๆ7ปี จงมุ่งสู่ระฆังใบที่7 และตีระฆังให้ดังกังวานเถิด
หลังจากที่อาจารย์โทดะเสียชีวิตลง ในปี พ.ศ. 2501 วันที่ 3 พฤษภาคม ก็ได้มีการจัดประชุมใหญ่ระดับภาคขึ้น ขณะนั้นไดซาขุ อิเคดะ ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะทำงานของคณะยุวชน ได้พิจารณาไตร่ตรองถึงโครงการที่จะมอบความหวังให้กับสมาชิกที่ยังมีความกังวลต่อนาคต จึงได้ประกาศแนวคิด ระฆัง7ใบ ขึ้นมาในที่ประชุมดังกล่าว นับตั้งแต่สมาคมได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2473 เป็นต้นมา ก็สามารถพัฒนาก้าวหน้าขึ้นมาโดยตลอดในทุกๆช่วง 7 ปี คือ
หลังจากนั้นได้มีการประกาศโครงการและเป้าหมาย ตั้งแต่ ระฆังใบที่ 5 เป็นต้นไป แสงประทีปแห่งความหวังในหัวใจของสมาชิกในญี่ปุ่นทั้งหมดก็ลุกโชนขึ้น แนวคิดและโครงการต่างๆดังกล่าว ก็ได้ปรากฏเป็นจริงขึ้นมา ภายใต้การนำของอ.ไดซาขุ อิเคดะ